ข่าว

ทำแท้งเสรีที่เกาหลีใต้  ส่วนในไทยแท้งเถื่อนระบาด


iStock-496546784 

เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้มีคำวินิจฉัยครั้งประวัติศาสตร์ ยกเลิกกฎหมายห้ามทำแท้งที่ใช้กันมาหลายสิบปี  ระบุชัดเจนการห้ามทำแท้งเป็นการจำกัดสิทธิไม่ให้ผู้หญิงได้ตัดสินชะตากรรมของตนเอง ละเมิดสิทธิด้านสุขภาพไม่ให้พวกเธอเข้าถึงกระบวนการทางการแพทย์ที่ปลอดภัยและทันเวลา

“ตัวอ่อนจะมีชีวิตรอดและมีพัฒนาการได้ต้องพึ่งพาร่างกายแม่แต่เพียงอย่างเดียว จึงไม่สามารถสรุปได้ว่า พวกเขาดำรงชีวิตอย่างอิสระแยกจากแม่จนเรียกว่ามีสิทธิในชีวิต”   ผลของการพิพากษานี้เท่ากับกฎหมายเก่าห้ามทำแท้งต้องยกเลิกไปโดยอัตโนมัติ

องค์กรสตรีหลายร้อยคนได้มาฟังคำตะดสินของศาลรัฐธรรมนูญนี้ต่างแสดงความดีใจปลื้มปิติกับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้   ผลการสำรวจความคิดเห็นใฝนเกาหลีใต้จำนวนกว่า 60 เปอร์เซ็นต์เห็ฯด้วยกับการยกเลิกกฎหมายห้ามทำแท้งไปเสีย

นางสาวลิม นักรณรงค์ จากองค์กรสตรี กล่าวว่า ที่ต้องปิดตัวเอง เรื่องการทำแท้ง นานกว่า 25 ปี เห็นว่า  คำพิพากษาศาลเปิดโอกาสให้ผู้หญิงตัดสินใจอนาคตของตนเองได้โดยไม่ต้องถูกตราหน้า นี่คืออนาคตใหม่ของสตรีเกาหลีใต้

กระทรวงสาธารณสุข เผยแต่ละปีทั่วโลกมีการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยประมาณ 20 ล้านคน ส่งผลให้สตรีกว่า 70,000 คน เสียชีวิตจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย

กฎหมายไทยอนุญาตให้ผู้หญิงยุติการตั้งครรภ์ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 โดยผู้ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ต้องเป็นแพทย์ผู้มีใบประกอบวิชาชีพ เวชกรรม ในกรณีที่ผู้หญิงตั้งครรภ์มีปัญหาสุขภาพกาย หรือปัญหาสุขภาพจิต หรือตั้งครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276, 277, 282, 283 หรือ 284 คือในกรณีดังต่อไปนี้ ถูกข่มขืน เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี การค้าบริการทางเพศทั้งที่ยินยอม และไม่ยินยอม หรือการล่อลวงอนาจาร

ข้อมูลจากรายงานการคลอดในประเทศไทย พบว่าในปี 2559 มีจำนวนเด็กที่คลอดจากแม่วัยรุ่น อายุ 10-19 ปี จำนวน 666,207 คน คิดเป็นร้อยละ 15 ของการคลอดทั้งหมด สูงเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน คิดเป็น 13 เท่าของสิงคโปร์1 แม้จะยังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัดของจำนวนผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทั้งหมดในประเทศไทย เนื่องจากส่วนหนึ่งยุติการตั้งครรภ์ด้วยการทำแท้ง  จำนวนการคลอดในแม่วัยรุ่นที่สูงขึ้นสวนทางกับการเกิดในหญิงวัยอื่นในประเทศไทยที่ลดต่ำลงทุกปี รวมถึงสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่คาดการณ์ว่าในอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้า ประชากรไทยจะมีปัญหาเกิดน้อย-ด้อยคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องในหลายด้าน

รายงานเฝ้าระวังการทำแท้งในประเทศไทย ปี 2557 พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ทำแท้งทั้งหมดในสถานพยาบาลเป็นหญิงวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี ซึ่ง 92.6% ของกลุ่มสำรวจนี้ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ และ 95.7% ของวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 15 ปีจากจำนวนนี้ ไม่ได้คุมกำเนิด