บทความ

เรามานุ่งกระโปรงกันเถอะ


tanatorn2

หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคลวิจารณ์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่มีความหลากหลายทางเพศ พรรคอนาคตใหม่ (14 พ.ค.) ว่าไม่เคารพธรรมเนียมปฏิบัติของรัฐสภา หลังจากผู้แทนราษฎรกลุ่มนี้ยื่นขอแต่งกายตามเพศสภาพของตัวเอง และยังก้าวล่วงไปถึงนายธนาธรและปิยะบุตรว่า “ท่าน หัวหน้าพรรค และเลขาพรรค ก็ควรนุ่งกระโปรง ตามลูกพรรคท่านด้วยนะครับ ส่วนประชาสัมพันธ์ ไม่ต้องนุ่งกระโปรง เพราะเห็นแต่นุ่งแต่กางเกง พรรคนี้ดูยังไงๆ ชอบกล ไม่ค่อยเคารพ ขนบธรรมเนียมปฏิบัติ อะไรประมาณนั้น…” หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล โพสต์

แต่เดิมคนไทยทั้งหญิงชายนุ่งโสร่งแบบเดียวกัน เพราะสอดคล้องกับอากาศเขตร้อน เพิ่งมาเปลี่ยนแปลงตอนรัชการที่ 5 ตามแบบอย่างตะวันตก และที่มามีข้อกำหนดให้ผู้หญิงนุ่งกระโปรงเริ่มกันที่รัชกาลที่ 7   การให้ผู้หญิงนุ่งกระโปรง ถูกออกแบบมาเป็นการควบคุมสตรีเพศ  เพื่อให้ง่ายต่อการที่ผู้ชายจะปลดเปลื้องเสื้อผ้าระหว่างมีเพศสัมพันธ์เพราะ ยุคศักดินา ผู้หญิงถูกกำหนดให้เป็นแค่วัตถุบำเรอความใคร่ให้ผู้ชาย ขณะเดียวกันก็สร้างขนบธรรมเนียมให้ผู้หญิงแสดงออกด้วยความระมัดระวังให้มีการเคลื่อนไหวทางกายภาพด้วยความระมัดระวังและถูกสอนไม่ให้เปิดเผยงบลับภายในกระโปรง   การนุ่งกระโปรงจึงทำให้ผู้หญิงถูกควบคุมไปในตัว ทำให้การเคลื่อนไหวทางสรีระเชื่องช้ากว่าชาย ตอบสนองความคิดที่ว่าผู้หญิงนั้นอ่อนแอกว่า ระบบข้าราชการจึงให้ข้าราชผู้หญิงนุ่งกระโปรงมาทำงาน  การแต่งกายที่แตกต่างกันแบบนี้เป็นแบบแผนของสังคมศักดินาที่ผู้ชายเป็นใหญ่  หากต้องการให้เกิดความเท้าเทียมกันก็ไม่ควรกำหนดการแต่งกายแบบตายตัวว่าผู้ชายต้องนุ่งกางเกง ส่วนผู้หญิงต้องนุ่งกระโปรง ดังนั้น ถ้าหากผู้หญิงจะนุ่งกางเกงทำงานก็ไม่ควรเป็นปัญหาขณะเดียวกันถ้าผู้ชายอยากนุ่งกระโปรงก็ไม่ควรมีปัญหา และไม่ใช่การนำกระโปรงมาสื่อความหมายที่ทำให้ความเป็นผู้หญิงนั้นต่ำต้อยกว่าชาย

ความคิดจากขนหน้าแข้งของหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ดังกล่าวมาจาก ความคิดศักดินาโบราณ  ที่เคยกดขี่ผู้หญิงมาช้านาน   หากต้องการให้เกิดความเท้าเทียมทางเพศในสังคมแล้วก็เห็นสมควรยกเลิกข้อกำหนดการแต่งกายที่แตกต่างกันในความหมายของความไม่เท่าเทียมกันของหญิงและชายการที่พรรคอนาคตใหม่เรียกร้องการแต่งกายตามเพศสภาพ จึงเป็นความคิดก้าวหน้า  สมควรที่จะสนับสนุนกันอย่างจริงจัง

บรรดาสตรีนิยม และองค์กรสตรีทั้งหลายควรออกมาช่วยกันส่งเสียงเรียกร้องให้ยกเลิกธรรมเนียมการแต่งกายโบราณที่เป็นการกดขี่ทางเพศและเป็นการแบ่งแยกชนชั้นได้แล้ว

สมยศ พฤกษาเกษมสุข 14.5.62 

952B026F3B7C46868B88B4469CD67C5D

 

 

twoland5

“สองแผ่นดิน” บันทึกเรื่องราวเป็นกวีศิลป์แห่งความทุกข์ทรมานและความเจ็บปวดรวดร้าวจากการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่ควรค่าต่อการเป็นเจ้าของ  คำนิยมโดยวัฒน์ วรรลยางกูร กวีกบถนอกราชอาณาจักร  รายได้สนับสนุนการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยนักโทษการเมือง นำผู้ลี้ภัยกลับบ้าน  ราคา 150 บาท  ค่าส่ง 20.00 บาท รวม 170 บาท  สั่งซื้อด้วยการโอนเงิน 170.00 บาท ในนามของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ธนาคารกรุงไทย บัญชีเลขที่ 198-0-12736-0  ส่งสลิป และแจ้งชื่อที่อยู่สำหรับจัดส่ง Email มาที่ editor@prakaifai.com  หรือโทรศัพท์มาที่ 065-557-5005