ข่าว

ต้านโครงการพระราชดำริ สร้าง‘เขื่อนเหมืองตะกั่ว’


 

20200825_114413

1637388

ชาวบ้านป่าบอน จ.พัทลุง ต้านโครงการพระราชดำริ สร้าง‘เขื่อนเหมืองตะกั่ว’
วศิน ศรีสถาน กลุ่ม Coconut Republic รายงาน

ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563  ชาวบ้านเหมืองตะกั่ว อ.ป่าบอน จังหวัดพัทลุงได้มีการชุมนุมปักหลักกันอยู่ที่หน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กลุ่ม Coconut Republic ได้สัมภาษณ์ชาวบ้านที่มาร่วมการชุมนุมทราบมาว่าได้มีโครงการสร้างเขื่อนบริเวณน้ำตกโตนสะตอ จังหวัดพัทลุง โดยทางกรมชลประทานอ้างว่าเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อการเกษตร  แต่การสร้างเขื่อนนี้ต้องทำลายป่าอุดมสมบูรณ์และวิถีชีวิตชุมชน   ซึ่งชาวบ้านไม่เห็นด้วยและไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง

จากรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นของโครงการอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่วนั้นได้มีการอ้างว่า .”จากรายงานสรุปจังหวัดพัทลุง(2548) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่การเกษตรประมาณ 4,010366 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 50.65 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วผิวมัน ถั่วเหลือง ข้าวฟางเลี้ยงสัตว์ และพืชต่างๆ สำหรับพืชไรที่ปลูกมากที่สุด คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รองลงมาได้แก่ถัวเชียวผิวมัน ข้าวฟางเลี้ยงสัตว์ และงาตามลำดับนอกจากนี้ยังมีไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญคือ  มะขามหวาน ส่วนพืชผักนั้น จังหวัดพัทลุงถือเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชผักที่สำคัญจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือ”

เมื่อสอบถามชาวบ้านนั้นกลับไม่เป็นไปตามรายงานการศึกษานี้เพราะชาวบ้านนั้นทำสวนยางพารา ปาล์ม สัปปะรด ซึ่งมีน้ำตามธรรมชาติเพียงพออยู่แล้ว และจากรายงานที่ได้กล่าวไปทางชาวบ้านกล่าวว่าเป็นรายงานที่มีการคัดลอกข้อความมาจากจังหวัดเพชรบูรณ์

โครงการสร้างเขื่อนนั้นได้มีการสร้างเขื่อนบริเวณข้างเคียงไว้อยู่แล้วสองเขื่อน นั้นก็คือเขื่อนเก็บน้ำป่าบอน ซึ่งห่างจากน้ำตกโตนสะตออยู่ 2.6 กิโลเมตรและเขื่อนเก็บน้ำหัวช้างโดยห่างน้ำตกโตนสะตออยู่14 กิโลเมตร โดยทราบมาว่าหลังจากที่ได้มีการสร้างเขื่อนสองที่นี้แล้วกับกลายเป็นว่าเป็นการทำลายป่าไม้ที่มีอยู่ก่อนหน้านี้เพราะต้องถางป่าทำเขื่อน  และส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำทำให้แม่น้ำนั้นแห้งเหือดและทำให้ปริมาณน้ำลดลง

การที่ไปถางทำลายป่าไม้บริเวณน้ำตกสะโตนเพื่อใช้ทำเขื่อนนั้นไม่เพียงแต่อาจจะทำให้แหล่งน้ำลดลง แต่ยังทำให้ระบบนิเวศในบริเวณนั้นสูญเสียไปด้วย ซึ่งบริเวณนั้นเป็นป่าไม้จากเทือกเขาบรรทัด จะมีบรรดาที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าสงวนอย่าง นกเงือก ที่เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธ์

บริเวณนั้นยังเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่ชาวบ้านใช้ทำมาหากินอาทิเช่น สะตอและปลางวดที่เป็นแหล่งสำคัญที่ชาวบ้านใช้ในการค้าขายอย่าง ไตปลา นอกจากนั้นยังมีจะมีต้นไม้ยืนยาวอย่าง’ต้นตีนเป็ด’เป็นต้นไม้ที่อยู่มาร่วมกับชาวบ้านมามากกว่า 100 ปี ต้นตีนเป็ดนั้นเป็นแหล่งรวงผึ้งที่ชาวบ้านนิยมเก็บน้ำผึ้งป่าเพื่อนำไปใช่ในการทำมาหากิน

ในวันที่ 27 สิงหาคม 2563 ชาวบ้านได้เดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลโดยมีนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ตัวแทนประยุทธ์ จันทร์โอชา มารับข้อร้องเรียนของชาวบ้านและนัดหมายการประชุมกับตัวแทนกรมชลประทานในวันถัดมา แต่ยังไม่มีความคืบหน้าในการหยุดโครงการนี้ ทำให้ชาวบ้านยังคงปักหลักชุมนุมอยู่ที่ หน้ากระทรวงเกษตรสหกรณ์กันต่อไป  

20200825_19094333316