- กลุ่ม 24 มิถุนาฯเรียกร้องนานาชาติกดดันไทยยกเลิกม.112
- แกนนำคณะราษฎร8 คน รับทราบข้อกล่าวหาที่สน.บางเขนลั่นปีหน้าเหลือข้อเรียกร้องข้อเดียวปฏิรูปกษัตริย์พบกับการเคลื่อนไหวขนาดใหญ่แน่นอน
- UN แถลงการณ์เรียกร้องรัฐไทยแก้ไขม.112 ให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
(10.12.63 ) กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยจำนวน 150 คน ชุมนุมที่หน้าสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ (UN) ถนนราชดำเนินนอก นำโดย เพลง ทัพมาลัย และ สิรภัทร คัยนันท์ ได้ไปยื่นหนังสือต่อ Badar Farrukh หัวหน้าข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน ( OHCHR Reginal Office for South-East Asia)โดยระบุว่า รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา มาจากการรัฐประหารและการยัดเยียดรัฐธรรมนูญที่เป็นการสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหาร ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ เกิดความเหลื่อมล้ำและคนยากจนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ประชาชนชุมนุมประท้วงเรียกร้องรัฐบาลลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญและปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่รัฐบาลกลับใช้ความรุนแรงกกระทำต่อผู้ชุมนุม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้มาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่เป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของประชาชนคนไทย ทำให้แกนนำการประท้วงจำนวน 36 คน ถูกดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษจำคุก 3-5 ปี

ทั้งนี้ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุขระบุว่า การประชุมสหประชาชาติประจำปี 2564 ราวเดือนพฤษภาคม 2564 ที่นครเจนิวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย จำนวน 5 คนจะเดินทางไปรณรงค์ในที่ประชุม เรียกร้องนานาชาติกดดันรัฐบาลไทย ให้ยกเลิกมาตรา 112 และให้รัฐบาลยุติการดำเนินคดีตามมาตรา112 ทั้งหมด หากรัฐบาลเพิกเฉยจะรณรงค์ให้นานาชาติร่วมกันกดดันทางสังคมและเศรษฐกิจต่อประเทศไทยอีกด้วย

ในการชุมนุมยังมีนายเอกชัย หงส์กังวาน และนายสุรภักด์ ภูไชยแสง อดีตนักโทษการเมืองในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพขึ้นปราศรัยโดยระบุว่า มาตรา 112 เป็นภัยอันตรายต่อสิทธิมนุษยชน กลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการกดขี่ประชาชนข่มเหงประชาชน เมื่อถูกกล่าวหาตามมาตรา112 ศาลไม่ให้ประกันตัว เมื่อสู้คดีแล้วศาลยกฟ้องโดยไม่ได้รับการเยียวยาค่าเสียหายที่เกิดขึ้นอีกด้วย
ในเวลา 12.00 น. แกนนำโดย ดวงพร วิรัตน์ธัญญารักษ์ ประกาศยุติการชุมนุมหน้าสำนักงาน UN และให้ผู้เข้าร่วมการชุมนุม 150 คน เดินขบวน ไปที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม ระหว่างการเดินขบวนได้ชูป้ายให้ยกเลิกมาตรา 112 และตะโกน “ศักดินา จงพินาศ ประชาราษฎร์จงเจริญ” โดยมีการแสดงเด็กหญิงถูกปิดหูปิดปาก ใส่กุญแจมือ เป็นการสื่อความหมายถึงมาตรา 112 ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นและมีบทลงโทษจำคุกที่รุนแรงอีกด้วย
ในวันที่ 11 ธันวาคม 2563 เวลา 14.20 น น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วยกลุ่มผู้สนับสนุนจำนวนหนึ่งที่มาชูป้ายให้กำลังใจ และสนับสนุนการใช้กฎหมาย มาตรา 112 เข้ายื่นหนังสือต่อ UN ชี้แจงบริบทของกฎหมายในแต่ละประเทศที่สอดคล้องกับจารีตประเพณีของประเทศความเคารพรักต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีมายาวนาน การที่ผู้กระทำความผิดถูกดำเนินคดีแล้วมาร้องต่อ UN ตนมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ ก็ต้องถูกดำเนินคดี หากมีกลุ่มใดไปยื่นหนังสือกับองค์กรต่างประเทศ ก็จะไปคัดค้านด้วยทุกครั้ง
18.12.63 ราวินา ชามดาสนี โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ หรือ UNOHCHR แถลงว่า
ขอแสดงความกังวลและเรียกร้องรัฐบาลไทยมาหลายครั้งแล้ว ให้บังคับใช้มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญาตามครรลองสากล “เราจึงรู้สึกผิดหวังอย่างมากที่หลังไม่มีการใช้กฎหมายนี้มานาน 2 ปี วันนี้เรากลับเห็นผู้ถูกตั้งข้อหาด้วยมาตรา 112 เป็นจำนวนมาก และน่าตื่นตระหนกที่มีการใช้กฎหมายนี้กับผู้เยาว์
UNOHCHR ยังเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ปรับแก้ไขมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา เพื่อให้เป็นไปตามกรอบมาตราที่ 19 ว่าด้วยเสรีภาพทางการแสดงออกของตราสารระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ( The Standard 18.12.63)

ล่าสุดในวันที่ 21 ธันวาคม 2563 แกนนำคณะราษฎรจำนวน 8 คนประกอบไปด้วย (1) อานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน (2) พริษฐ์ ชิวรักษ์ หรือ เพนกวิน แกนนำเเนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, (3) ชินวัตร จันทร์กระจ่าง จากเครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรี (4) อินทิรา เจริญปุระ นักแสดงชื่อดัง,(5) สมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย, (6) พรหมศร วีระธรรมจารี หรือ ฟ้า จากกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ แนวร่วมราษฎร, (7) พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ นักสิทธิมนุษยชน, และ (8) ณัฏฐธิดา มีวังปลา หรือ แหวน พยาบาลอาสาราษฎรพร้อมด้วยผู้ชุมนุมกว่า 500 คน เดินทางมาที่สน.บางเขนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 จากการจัดชุมนุมที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 โดยบุคคลดังกล่าวได้ปราศรัยถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
การชุมนุมมีดนตรีวงกลองยาวเเห่นำผู้ถูกกล่าวหาเข้า สน.บางเขนด้วย ขณะที่คณะกลองยาว สวมเสื้อระบุข้อความ “จปร. เจริญปุระ” และเสื้อมัดย้อมสีสันสดใส ระหว่างนี้ยังมีสุกัญญา มิเกล นักร้อง นักแสดง และอดีตนางแบบชาวไทยได้มาให้กำลังใจแกนนำทั้ง 8 คน ภายหลังการรับทราบข้อกล่าวหาแล้ว ผู้ชุมนุมได้จัดงานวันเกิดให้ ทราย เจริญปุระ กล่าวขอบคุณทุกคนที่มาให้กำลังใจ และนำอาหารมาตั้งเต็นท์แม่ยกเเห่งชาติ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเช่นเดิม




จดหมายที่ยื่นต่อข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชน
กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย
46/428 Rimsuan, Prachautid12 road,Donmuang, Bangkok 10210
10 December 2020
Subject: Demand to Pressure the Government of Thailand to cease prosecution against students and people participating in the protests for democracy by virtue of the Rights and Liberties under the Constitution of Thailand and the international human rights principles, and the repeal of Section 112 of the Criminal Code
To United Nations Human Rights Council,
People in Thailand has been regularly protesting for democracy for a long time. Each protest usually leads to state persecution and public crackdown using the legal mechanism up until now, despite the peaceful, unarmed protest being the rights and liberties under the Constitution of Thailand and international human right principles.
Following the coup d’état by General Prayut Chan-o-cha, itself undermining the democratic regime, a new constitution has been drafted in order to allow the succession of dictatorship regime. The subsequent referendum to accept the draft constitution was also unfair; political activists that provide information, campaigning against the draft constitution, and expressing opposition to the draft constitution in 2017 by virtue of the rights and liberties of expression, were arrested and prosecuted.
Meanwhile, the country administration during the tenure of General Prayut Chan-o-cha is also a failure: interests are mostly beneficial to the capitalists and its associates, a social inequality and the underprivileged people are rising, and the legal institution and judicial system is far from applying the legal state and rule of law principles.
Following the protests of students and public in order to demand the resignation of General Prayut Chan-o-cha and his accomplices, to demand the Parliament to convene an Extraordinary Meeting to hear the draft constitution proposed by the people, and to demand the monarchy reform, the government officials have applied various laws to prosecute many protesters. Since the latest November, Section 112 of the Criminal Code, after not being used for over two years, was used to prosecute political activists.
Section 112 of the Criminal Code provides that “Any person who defame, insult or threaten the King, the Queen, the Heir-apparent or the Regent shall be punished by an imprisonment of between three to 15 years”. It, however, does not have a clear extent of enforcement. In the past, people who have been charged under this Section were often denied bail prior to the Court’s decision despite their settled residence and no attempt of their abscondment. Not only this is a restriction of rights and liberties under the Constitution of Thailand and the human rights principle, it also serves as a restriction to the freedom of expression in relation to the head of state and the monarchy, which are also political institutions of the state.
We hereby demand the United Nations Human Rights Council to pressure the Government of Thailand to cease prosecution against students and people participating in the protests for democracy by virtue of the Rights and Liberties under the Constitution of Thailand, and to repeal Section 112 of the Criminal Code, also known as the lèse majesté law, which serves to restrict the right and freedom of expression and also carries severe punishment which is not in line with the human rights principle, without delay.
Yours faithfully,
24 JUNE Democracy
46/428 ม.ริมสวน ประชาอุทิศ12ดอนเมือง กรุงเทพ 10210
10 ธันวาคม 2563
เรื่อง ขอเรียกร้องให้กดดันรัฐบาลไทยให้ยุติการดำเนินคดีต่อนิสิต นักศึกษา และประชาชน ที่ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยตามสิทธิเสรีภาพแห่งรัฐธรรมนูญ และหลักสิทธิมนุษยชนสากล และการยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112
เรียน คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
ในประเทศไทยได้มีประชาชนออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีต ซึ่งแต่ละครั้งนำมาซึ่งการถูกกลั่นแกล้ง และปราบปรามประชาชน โดยใช้กฎหมายโดยรัฐมาโดยตลอดจนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน ในขณะที่การชุมนุมเรียกร้องโดยสงบสันติและปราศจากอาวุธนั้น เป็นสิทธิเสรีภาพที่พึงกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญ และหลักสิทธิมนุษยชนสากล
หลังจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำการรัฐประหารทำลายระบอบประชาธิปไตย ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการ และทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญอย่างไม่เป็นธรรม นักกิจกรรมทางการเมืองที่ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และแสดงความเห็นแย้งร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ตามสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก กลับถูกจับและดำเนินคดี
ในขณะเดียวกัน การบริหารประเทศในยุคพลเอกประยุทธ์ จันโอชา ก็มีแต่ความล้มเหลว เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนและพวกพ้อง สร้างความเหลื่อมล้ำ และมีคนยากจนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงสถาบันทางกฎหมายและระบบยุติธรรมก็ห่างไกลจากหลักนิติรัฐและนิติธรรม
หลังจากมีการออกมาชุมนุมของนิสิต นักศึกษา และประชาชน เพื่อเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และองคาพยพลาออก ให้รัฐสภาเปิดประชุมวิสามัญรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เจ้าหน้าที่รัฐได้มีการใช้กฎหมายมาตราต่าง ๆ แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมเป็นจำนวนมาก และในเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา เริ่มมีการกลับมาใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 ในการดำเนินคดีกับนักกิจกรรมทางการเมือง หลังจากไม่ได้มีการใช้มานานกว่าสองปี
อนึ่ง กฎหมายอาญา มาตรา 112 ระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” ซึ่งไม่มีขอบเขตระบุถึงการบังคับใช้ที่แน่นอน ในอดีต ผู้ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหามักไม่ได้รับการประกันตัวในขณะที่ศาลยังไม่พิพากษา ถึงแม้จะมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และไม่มีท่าทีว่าจะหลบหนีก็ตาม ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และตามหลักสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงบทบัญญัตินี้ ยังเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ประมุขของรัฐและสถาบันกษัตริย์ อันเป็นสถาบันทางการเมืองหนึ่งของรัฐอีกด้วย
เราจึงขอเรียกร้องให้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกดดันรัฐบาลไทยให้ยุติการดำเนินคดีต่อนิสิต นักศึกษา และประชาชน ที่ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยตามสิทธิเสรีภาพแห่งรัฐธรรมนูญ รวมถึงการยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อันเป็นกฎหมายที่ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และมีบทลงโทษที่รุนแรง ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนโดยเร็ว
ขอแสดงความนับถือ
24 JUNE Democracy
รายชื่อนักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกแจ้งดำเนินคดีในกฎหมายอาญา มาตรา 112
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นมา
พริษฐ์ ชิวารักษ์ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
อานนท์ นำภา ภาณุพงศ์ จาดนอก
ปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม จตุภัทร บุญภัทรรักษา
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์
ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ
ชนินทร์ วงษ์ศรี วัชรากร ไชยแก้ว
เบนจา อะปัญ รวิสรา เอกสกุล
ชลธิศ โชติสวัสดิ์ ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง สมยศ พฤกษาเกษมสุข
กรกช แสงเย็นพันธ์
Demand for the United Nations Human Rights Council to Pressure the Government of Thailand to cease prosecution against students and people participating in the protests for democracy by virtue of the Rights and Liberties under the Constitution of Thailand and the international human rights principles, and the repeal of Section 112 of the Criminal Code
People in Thailand has been regularly protesting for democracy for a long time. Each protest usually leads to state persecution and public crackdown using the legal mechanism up until now, despite the peaceful, unarmed protest being the rights and liberties under the Constitution of Thailand and international human right principles.
Following the coup d’état by General Prayut Chan-o-cha, itself undermining the democratic regime, a new constitution has been drafted in order to allow the succession of dictatorship regime. The subsequent referendum to accept the draft constitution was also unfair; political activists that provide information, campaigning against the draft constitution, and expressing opposition to the draft constitution in 2017 by virtue of the rights and liberties of expression, were arrested and prosecuted.
Meanwhile, the country administration during the tenure of General Prayut Chan-o-cha is also a failure: interests are mostly beneficial to the capitalists and its associates, a social inequality and the underprivileged people are rising, and the legal institution and judicial system is far from applying the legal state and rule of law principles.
Following the protests of students and public in order to demand the resignation of General Prayut Chan-o-cha and his accomplices, to demand the Parliament to convene an Extraordinary Meeting to hear the draft constitution proposed by the people, and to demand the monarchy reform, the government officials have applied various laws to prosecute many protesters. Since the latest November, Section 112 of the Criminal Code, after not being used for over two years, was used to prosecute political activists. Section 112 of the Criminal Code provides that “Any person who defame, insult or threate
