ข่าว

รวมพลังกันต่อสู้หรือจะอยู่อย่างอดอยาก


กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลออกมาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในด้านการครองชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต ภายใต้คำขวัญว่า “ เพื่อชีวิตที่ดีกว่าเดิม เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย “ ทั้งนี้นาย ณัฐพงศ์ มาลี ตัวแทนกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ชี้แจงว่า กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นของสมาชิกทั้งผู้สูงวัยและคนรุ่นใหม่ ถึง ปัญหาความเดือดร้อนในด้านการครองชีพ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้กำหนดมาตรการเร่งด่วนด้านเศรษฐกิจ4 ข้อ ที่จะเรียกร้องให้รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชาดำเนินการทันทีโดยนัดหมายประชาชนทุกส่วนรวมตัวกันที่หน้าทำเนียบรัฐบาลวันที่ 25 กุมภาพันธ์ เวลา 15.30

แถลงการณ์
กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย

เรื่อง มาตรการเร่งด่วนแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

“ เพื่อชีวิตที่ดีกว่าเดิม เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย”

ประเทศไทยในขณะนี้กำลังประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจและปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัส covid-19 ทำให้ประชาชนคนไทยทั้งหลาย มีปัญหาทางด้านปากทองรวมถึงการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ไม่สามารถทำมาหากินหรือได้รับรายรับหรือได้รับเงินเดือนน้อยลงเนื่องจากการจำกัดกิจกรรมของประชาชนตามนโยบายภาครัฐ

เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ของประชาชนทุกกลุ่มรวมทั้งเป็นการเพิ่มรายได้ให้ประชาชนในสภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิคครั้งนี้ทางกลุ่มจึงขอเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ให้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนอย่างถ้วนหน้าทั้งใน ทันทีและ ช่วยเหลือประชาชน อย่างทั่วถึง

ข้อที่ 1 เสนอให้พักชำระค่าเทอมหรือค่าบำรุงการศึกษาของนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมถึง มัธยม มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 3 ปี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ประกอบกับ ในช่วงนี้มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิช- ทำให้การใช้สาธารณูปโภคในโรงเรียนไม่ได้ใช้อย่างเต็มที่เงินส่วนต่างๆควรหยุดพักหรือนำมาคืนให้กับผู้ปกครองเพื่อได้นำเงินเหล่านั้นมาเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างการเรียน ออนไลน์หรือการเรียนที่บ้าน

ข้อที่ 2 รัฐบาลต้องผลักดัน กฎหมายเกี่ยวกับการให้บำนาญแก่ผู้สูงอายุและผู้พิการทุกคนเป็นบำนาญถ้วนหน้าโดยมีวงเงิน 3,000 บาท เพราะหลักประกันที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอต่อการเป็นหลักประกันทางรายได้และยังมีความเหลื่อมล้ำ คนที่ประกอบอาชีพต่างๆ จะได้รับเงินจากรัฐเมื่ออายุเลยวัยทำงานแล้วในอัตราที่แตกต่างกันอยู่มาก อีกทั้งการจ่ายเงินของภาครัฐยังมีลักษณะเป็นการสงเคราะห์มากกว่าการเป็น “สวัสดิการพื้นฐาน” ที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับ ยกระดับให้ประชาชนทุกคนเมื่ออายุถึง 60 ปี จะมีสิทธิได้รับบำนาญ 3,000 บาทอย่างเสมอภาค

ข้อที่ 3 ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสาธารณะ (BTS/MRT) ครึ่งราคา “ระบบขนส่งมวลชนพึงเป็นกิจการที่รัฐต้องดูแลประชาชน ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์สูงสุด ดังนั้นรัฐต้องจัดการลดราคาค่าโดยสารให้สอดคล้องกับค่าครองชีพของประชาชนคือการคิดค่าเฉลี่ย โดยนำกำไรในเส้นทางที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่นมาชดเชยส่วนต่างในเส้นทางที่ขาดทุน ส่วนการลงทุนรัฐบาลร่วมลงทุนและอุดหนุนส่วนต่างราคา เพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้บริการสาธารณะอย่างรถไฟฟ้าที่รวดเร็วและลดมลพิษ ซึ่งถือเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

ข้อที่ 4 ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) จาก 7% เป็น 5% รวมทั้งยกเลิกภาษีสรรพสามิตน้ำมันเพื่อให้คนไทยได้ใช้น้ำมันที่ราคาถูก การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและลดภาษีสรรพสามิต  จะช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชนในธุรกิจขนส่ง อันจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีการฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งแนวโน้มจะทำให้ของกินของใช้ราคาถูกลง ส่งผลดีกับประชาชนในด้านการจับจ่ายใช้สอย

ปัญหาปากท้องจึงเป็นปัญหาที่สำคัญในช่วงเวลานี้ของประเทศไทย หากรัฐบาลจริงใจในการแก้ปัญหา ทางกลุ่มจึงขอเสนอข้อเสนอดังกล่าวเพื่อให้รัฐบาลได้พิจารณาแนวทางเพื่อลดค่าครองชีพ ส่งเสริมปากท้องประชาชนให้อยู่ดีกินดี สามารถดำรงชีวิตในชีวิตประจำวัน อันจะก่อให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจที่คล่องตัวของประเทศต่อไป

ณัฐพงศ์ มาลี     สิริยากรณ์ นะบุตร ขัตติยาภรณ์ พานแก้ว พรพิมล สุจริต  ฐิตาภรณ์ สุพอ
วาสนา กองอุ่น  นภัสสรณ์ บุญรีย์ สุวรรณา ตาลเหล็ก สมยศ พฤกษาเกษมสุข ธนชัย เอื้อฤาชา สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ เอกศักดิ์ สุพรรณขันธ์ มนัส แกล้ววิกย์กิจ จรัส พานิพัฒน์ เจษฎา ศรีปลั่ง (เครือข่ายคนรุ่นใหม่ นนทบุรี)