
ณัฏฐิดา มีวังปลา หรือแหวน พยาบาลอาสาในเหตุการณ์สังหาร 6 ศพวัดปทุมวนาราม ราชประสงค์ ซึ่งถูกเผด็จการทหารประยุทธ์ จันทร์โอชา จับไปทรมานในค่ายทหารและลวนลามทางเพศ ต่อมาออกมาแฉทหารยิงคนเสื้อแดงที่หลบภัยเข้าไปอยู่เขตอภัยทาน วัดปทุมวนาราม เสียชีวิต 6ศพ เลยถูกฝ่ายทหารยัดเยียดความผิดตามมาตรา112 ถูกขังคุกถึง 3 ปี โดยศาลได้ยกฟ้อง ไม่มีความผิด แต่ปรากฏว่า คำพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ไม่อยู่ในระเบียบได้รับเงินเยียวยา จึงได้ร้องร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งต่อมา กสม.ยกคำร้องเนื่องจากหลักฐานการคุกคามทางเพศระหว่างการคุมขังในค่ายทหารไม่เพียงพอ และคดีถึงที่สุดในชั้นศาลยุติธรรมแล้ว
ณัฏฐิดา มีวังปลา จึงได้อุทธรณ์คำสั่งของกสม.พร้อมทั้งเรียกร้องต่อกสม.ในการเยียวยาเมื่อถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน มีนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนมารับฟังการอุทธรณ์ในครั้งนี้ และได้ชี้แจงการดำเนินงานของกสม.ที่ได้ออกข้อแนะนำให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องได้รับทราบกันแล้ว
ในช่วงเช้าวันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ต.ศารุติ แขวงโสภา ผบก.ปอท. เข้าตรวจค้นและจับกุม นายพล (นามแฝง) ผู้ต้องหาวัย 28 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 1937/2564 ลงวันที่ 16 พ.ย. 2564 ในข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) จากการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมการชุมนุมเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม และ 7สิงหาคม2564 ก่อนนำตัวไปที่ บก.ปอท. โดยได้มีการตรวจยึดอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ของพลไปด้วย
ในเวลาเดียวกันนี้ตำรวจกว่า 30 นาย นำหมายค้นมาที่สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ที่เป็นสำนักพิมพ์งานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ โดยต้องการค้นหาหนังสือสถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย (คำปราศรัยของทนายอานนท์ นำภากล่าวในการชุมนุมเสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563) รวมถึงยึดอุปกรณ์มือถือและคอมพิวเตอร์ของบ.ก. ธนาพล อิ๋วสกุล ทั้งสองคนได้รับการประกันตัวในการต่อสู้คดี
เวลา 13.00 น. ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ โดยนายจำนงค์ หนูพันธ์แถลงข่าวประกาศปักหลักชุมนุมหน้าองค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น ตั้งแต่วันที่ 20 ม.ค. เป็นต้นไป หลังชุมนุมครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่ต่อสู้เรียกร้องจนได้บันทึกข้อตกลงการแก้ไขปัญหารายกระทรวง แต่ก็ยังไม่อาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหารายกรณีและเชิงนโยบายได้ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่รัฐบาลเปิดให้มีการเจรจาทางช่องทางออนไลน์ดดยยื่นข้อเรียกร้องจำนวน 12 ข้อ แก้ไขข้อพิพาทที่ดินในหลายจังหวัดด้วยกันเช่น การเดินหน้าโฉนดชุมชน การผลักดันร่างพระราชกฤษฎีกานิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวกับปัญหาป่าไม้และที่ดิน การทบทวนพ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ และพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562การแก้ปัญหาที่ดินการรถไฟ การผลักดันแนวทางธนาคารที่ดินตามเจตนารมณ์การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม ผลักดันกฎหมายคุ้มครองสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ กรณีกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเขตเศรษฐกิจแม่สอด และกรณีปัญหาการละเมิดสิทธิชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย จ.เพชรบุรี เป็นต้น
เครตดิตภาพ FB จำนงค์ หนูพันธ์


