บทความ

ลั่นกลองรบด้วยกลองสะบัดชัย


ลั่นกลองรบด้วยกลองสะบัดชัย
Murcury Mint 9.2.65

กลองสะบัดชัยเป็นกลองที่มีประวัติยาวนาน จนขาดข้อมูลที่ชัดเจน ดังนั้น การศึกษาประวัติของกลองสะบัดชัยจึงเป็นการฟังจากเรื่องเล่าที่ผูกพันเป็นตํานาน และแฝงคติความเชื่อเข้าไป การตีกลองสะบัดชัยมักไม่ถูกเรียกว่าเป็นการเล่นดนตรี ทั้งนี้อาจเป็น เพราะการตีกลองสะบัดชัย ไม่ได้มีหน้าที่สร้างความสนุกสนานเพียงอย่างเดียว อันที่จริงแล้วการละเล่นดนตรีอื่น ๆ ในสังคมไทยก็ไม่ได้มีไว้เพื่อความสนุกสนาน เท่านั้น การละเล่นส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในสังคมไทยทั้งในอดีต และที่ยังเหลืออยู่นั้น ล้วนแต่ มีรากฐานที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับพิธีกรรมและความเชื่อเกือบทั้งสิ้น

การละเล่นดนตรีบางประเภทในสังคมไทยจึงมีลักษณะที่สําคัญ 4 ประการคือ 1. ผู้ให้กําเนิดไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา มักเกี่ยวพันกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 2. มีความเชื่อและศรัทธาต่อเทวดา – ครู – ผี อย่างเหนียวแน่น 3. เป็นการละเล่น (music playing) มิใช่การแสดง (music show, concert) 4. ไม่เล่นทั่วไป แต่จะเล่นเนื่องในโอกาสที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ทางศาสนา

จากตํานานของกลองสะบัดชัย จะพบว่า กลองสะบัดชัยมีความเกี่ยว เนื่องกับเทพเทวดา สามารถป้องกันสิ่งชั่วร้ายได้ และยังมีคาถาธรรมอีกด้วย ไม่ ว่าตํานานของกลองจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม ตํานานนี้ก็แสดงให้เห็นได้ว่า คนในสมัยก่อนให้ความสําคัญ และนับถือกลองอย่างมาก จึงมีการผูกเรื่อง กลองเข้ากับเทพ เทวดาเช่นนี้ ความสําคัญของกลองสะบัดชัยยังประจักษ์ได้จากผู้ที่ครอบครองหรือควบคุมการใช้กลองสะบัดชัยในอดีตคือกษัตริย์ หรือเจ้าเมือง เพราะกลองมีหน้าที่ ในการให้สัญญาณ ทั้งในการปกครองและการรบ กลองจึงเป็นของสูงที่คนทั่วไป จะตีเล่นหาความสําราญไม่ได้ และผู้ตีจะต้องเป็นผู้มีความรู้ในการตีเพื่อให้เป็น สัญญาณที่ถูกต้องเพราะหากผู้ตีส่งสัญญาณผิด จะทําให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงตามมา

เมื่ออํานาจของฝ่ายกษัตริย์ และเจ้าเมืองถูกลดบทบาทลง กลอง สะบัดชัยจึงเปลี่ยนมาเป็นกลองของพุทธศาสนา กลองสะบัดชัยจึงได้เป็นกลอง ประจําหอกลองของวัดต่าง ๆ ในยุคนี้กลองยังคงมีหน้าที่ทางการสื่อสารเหมือนเคย นั่นคือการส่งสัญญาณเพื่อเรียกประชุมหรือใช้บอกวันสําคัญทางศาสนาเช่น วันโกน วันพระ นอกจากนี้กลองสะบัดชัยยังใช้ตีเพื่อเป็นพุทธบูชา จนเรียกกลองสะบัดชัย ว่าก๋องปูจา ภาพรวมแล้ว การตีกลองสะบัดชัยจึงมีหน้าที่หลักสามประการ นั่นคือ การตีเพื่อเป็นสัญญาณบอกเหตุ เช่นเรียกประชุม จังหวะในการตีขึ้นอยู่กับ เหตุการณ์ นอกจากนี้ยังตีเป็นสัญญาณบอกวันโกน และตีเป็นพุทธบูชา หรืออาจ เรียกได้ว่าเป็นการตีกลองเพื่อศาสนา และสุดท้ายคือการตีเป็นมหรสพในงานบุญ กลองสะบัดชัยเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมเกษตรมาโดยตลอด และ สังคมเกษตรเป็นสังคมที่ต้องพึ่งพาอาศัยแรงงานของกันและกัน เพื่อทําให้งาน หนักสําเร็จลงได้ วัดจึงเป็นที่รวมของผู้คนในสังคมสําหรับกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ภายในสังคมนั้น กลองสะบัดชัยซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารจึงเป็นเสมือนเครื่องมือใน ในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนเข้าไว้ด้วยกันอย่างเหนียวแน่น เมื่อเวลาผ่านไป สังคมล้านนาก็เริ่มรู้จักกับระบบเศรษฐกิจใหม่ นั่นคือ ระบบทุนนิยม ซึ่งไม่ต้องการการรวมพลังกันของชุมชน เนื่องจากระบบนี้เน้นการ ผลิตและการขายเป็นหลัก ยิ่งขายได้กําไรมากเท่าไร ยิ่งถือเป็นความสําเร็จของ คนในระบบนี้ ดังนั้นคนส่วนใหญ่ในสังคมจึงเริ่มหันเข้าหา หรือถูกกระทําให้ยอมรับ ระบบทุนนิยมนี้มากขึ้น กลายเป็นว่า การทํากิจกรรมในชีวิตประจําวัน เป็นเรื่อง ต่างคนต่างทําของตน มีชีวิตแบบปัจเจก สายใยความสัมพันธ์ของสังคมค่อย ๆ ขาดไปเรื่อย ๆ กลองสะบัดชัยซึ่งเคยเป็นเครื่องมือที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ก็ค่อย ๆ ถูกลดบทบาทลง จนถือได้ว่า กลองสะบัดชัยไม่มีความสําคัญในระบบทุนนิยม ตราบเท่าที่กลองยังไม่สามารถสร้างรายได้ จนอาจถูกมองว่าเป็นความล้าหลังไปแล้ว