
ชาวพม่าจับอาวุธสู้ หวังโค่นรัฐเผด็จการทหารภายในสองปีข้างหน้า
• นับตั้งแต่การรัฐประหารในเมียนมาเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 เป็นต้นมา เผด็จการอำมหิตมิน อ่อง หล่าย สังหารประชาชนกว่า 2500 ศพ จับกุม 11,289 ราย และมีหมายจับอีกกว่า3000 ราย จับกุมเด็กอายุตำกว่า 15 ปีอีกกว่า 300 ราย หลายคนต้องลี้ภัยไปต่างแดน แม้ว่าจะมีการปราบปรามอย่างอำหิต แต่ชาวพม่าลุกขึ้นสู้อย่างดุเดือด ด้วยการจัดตั้ง กองกำลังพิทักษ์ประชาชน(People Defense Force : PDF)จับอาวุธลุกขึ้นสู้ พร้อมพลีชีพในสนามรบเพื่อโค่นล้มล้มรัฐเผด็จการทหารให้หมดไป มีพระภิกษุสงฆ์ยอมสละจีวรเหลืองแก่ไปสวมใส่ชุดทหารป่า ดารานักแสดงชื่อดัง ศิลปิน นักร้อง นักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมการต่อสู้ด้วยกองกำลังติดอาวุธ กระจายไปหลายเมือง จนมีการปะทะกันดุเดือด คาดว่า มีจำนวนมากกว่า 60,000 คนแล้ว สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่ามี ทหารฝ่ายรัฐบาลถูกสังหารไปกว่าพันรายแล้วในขณะที่ มีข้าราชการและประชาชนที่ไม่เชื่อฟังรัฐบาล( Civil Disobedience Movement)จำนวนไม่น้อยกว่า 3,000,000 คนที่ไม่ให้ความร่วมมือและปฏิเสธการทำงานให้กับรัฐบาล
• ในการชุมนุมประท้วงรัฐบาลเผด็จการทหาร ผู้ชุมนุมชูสามนิ้ว เป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากคนหนุ่มสาวชาวไทยในประเทศไทยที่ลุกขึ้นสู้ต่อต้านเผด็จการประยุทธ์ในปี 2563-2564 ในการชุมนุมบนท้องถนนหลายเมืองของชาวพม่า เริ่มมีการร้องเพลงเป็นภาษาพม่าชื่อเพลง เราคือเพื่อนกัน โดยแปลงมาจากเพลงเราคือเพื่อนกันของวงดนตรีสามัญชนในประเทศไทย
• หลายแห่งชาวพม่าใช้อาวุธยิงตอบโต้ทหาร บางจังหวัดในเขตมัณฑะเลเป็นเขตปลดปล่อยที่ทหารรัฐบาลไม่สามารถเข้าไปได้ในขณะที่ในเขตเมืองใหญ่ชาวพม่าทำการประท้วงเงียบนัดหมายกันส่งเสียงดังด้วยการตีปี๊บ เป่านกหวีด ปรบมือ ตีกะละมังในเวลา 20.00 ของทุกวัน
• ทางด้านชายแดนแม่สอด จังหวัดตาก ยังมีเสียงปืน ระเบิด ดังเป็นระยะจากการสู้รบของทหารฝ่ายรัฐบาลกับกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะองค์กรสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือเคเอ็นยู (Karen National Union)ซึ่งมี 7 กองพลน้อย ในทุกวันทำให้ชาวบ้านอพยพหนีภัยจากการสู้รบข้ามเข้ามาฝั่งอำเภอแม่สอดจำนวนมาก ในสภาพที่ทุกยากเดือดร้อนแสนสาหัสทั้งในด้านที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล และ การขาดแคลนอาหาร โดยมีองค์การพัฒนาเอกชนของประเทศไทยเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกันแล้ว
สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงหรือ KNU เป็นองค์กรทางการเมืองซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามในเมียนมา และได้เรียกร้องในการปกครองตนเอง รวมทั้งต่อสู้กับรัฐบาลทหารมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2491 หลังจากที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในปี 2542 นักศึกษาพม่าที่ลี้ภัยจากเผด็จการทหารเข้าร่วมการต่อสู้กับเคเอ็นยู ใช้ปฏิบัติการจรยุทธ์บุกยึดสถานทูตพม่าในกรุงเทพเพื่อป่าวประกาศให้ชาวโลกรู้ถึงความโหดเหี้ยมของรัฐเผด็จการทหารพม่าและเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางอองซานซูจีและให้นานาชาติสนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของขบวนการนักศึกษา
• นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น (National Unity Government :NUG) มีบทบาทขับเคลื่อนทางนานาชาติเพื่อกดดันรัฐบาลเผด็จการทหารด้วยมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและให้รับรองความชอบธรรมของรัฐบาลพลัดถิ่น ทั้งนี้แกนนำการต่อสู้ที่ลี้ภัยการเมืองอยู่ในต่างแดนกล่าวว่า รัฐบาลเผด็จการมิน อ่อง หลาย เหมือนหมาบ้า ไล่ฆ่าสังหารประชาชนตายจำนวนมาก ไม่เว้นแม้แต่เด็กและผู้หญิงจำนวน 287 ราย ที่ถูกคุมขังอยู่ในคุกมืดขณะนี้ชาวพม่าลุกขึ้นสู้เป็นวงกว้างในขอบเขตทั่วประเทศ จึงมีความมั่นใจได้ว่า จะโค่นล้มเผด็จการทหารภายใต้การนำของนายพลมิน อ่อง หลายให้หมดไปจากพม่าได้ภายในสองปีข้างหน้า
. การต่อสู้ของชาวพม่าในการโค่นล้มเผด็จการทหารได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาชนคนไทยด้วยการให้ความช่วยเหลือมนุษยธรรมด้านต่างๆเมื่อลี้ภัยหนีความรุนแรงจากพม่าข้ามชายแดนมาอยู่ฝั่งประเทศไทย ในขณะที่แรงงานอพยพชาวพม่าที่เข้ามาทำงานอยู่จังหวัดสมุทรสาครและในกรุงเทพได้ระดมทุนรวบรวมเงินบริจาคจำนวนมากให้ชาวพม่าต่อสู้เพื่อโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการทหารให้สิ้นซากไปจากพม่าให้ได้
สมยศ พฤกษาเกษมสุข รายงาน 21.2.65




