
ลำพูนเดือด ต้านโรงงานไฟฟ้าขยะ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนมีนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ อดีตรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย เป็นนายกองค์การบริหาร เดินหน้าจัดทำโรงงานไฟฟ้าพลังความร้อนจากการใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ 164ไร่ หมู่ที่ 11 บ้านดอนแก้ว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่ชาติ ป่าแม่ตีบแม่สารที่อุดมสมบูรณ์ ใกล้กับศูนย์ราชการจังหวัดลำพูน และใกล้ชุมชนขนาดใหญ่ ผวาโรงงานไฟฟ้าขยะก่ออันตราย มลพิษทางบก น้ำ อากาศ ทำลายวิถีชีวิตชุมชน ทำให้ชาวบ้านตายผ่อนส่ง ชาวบ้านจึงคัดค้านการสร้างโรงงานไฟฟ้ามาโดยตลอด ขณะที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดกลับเดินหน้าจัดทำโครงการนี้ต่อไปโดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของชาวบ้าน
2 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 น.ชาวบ้านศรีบัวบานกว่า 100 คนมาชุมนุมทีศูนย์ราชการจังหวัดลำพูน ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน โทร / โทรสาร 05351-1000 E-mail : saraban_lamphun@moi.go.thนำโดย น.ส.จิดาภา นาปันจักร แกนนำชาวบ้านกล่าวว่า ทางอบจ.เดินหน้าจัดทำโครงการอ้างว่า ประชาชนไม่ได้คัดค้าน ซึ่งไม่เป็นความจริง จึงต้องมาชุมนุมยืนยันการคัดค้านในครั้งนี้ โดยมีข้อเรียกร้อง ให้มีการชะลอโครงการไว้ก่อนแล้วให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาการจัดทำโครงการ โดยให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานทั้งนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัดนายอนุพงษ์ วาวงศ์มูล ได้ชี้แจงให้ทราบว่า การจัดทำโครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าขยะอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายในการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างอยู่ ยังไม่ได้ทำการการก่อสร้าง แต่อย่างใด ส่วนข้อเสนอการตั้งคณะทำงานของชาวบ้านจะนำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในหนึ่งสัปดาห์ โดยแกนนำแจ้งต่อชาวบ้านที่มาชุมนุมว่าจะเดินหน้าคัดค้านการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าขยะนี้ต่อไปในทุกวิถีทาง
ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา รัฐบาลประยุทธ์ประกาศให้การจัดการเรื่องขยะเป็นวาระของชาติโดยการสนับสนุนให้มีการสร้างโรงงานไฟฟ้าขยะ เพราะทำกำไรได้มากให้กับผู้ประกอบการ แต่ชาวบ้านในทุกพื้นที่คัดค้านกันอย่างแข็งขัน มีการฟ้องร้องต่อศาลปกครองให้มีการยุติการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าขยะในหลายพื้นที่ด้วยกัน แม้แต่ที่ก่อสร้างเสร็จแล้วเช่น ที่จังหวัดสงขลาชาวบ้านร้องเรียนโรงงานไฟฟ้าขยะ บริษัทจีเด็คจำกัดปล่อยละอองน้ำมันในอากาศและขยะส่งกลิ่นเหม็นในชุมชน ส่วนในภาคเหนือ ที่ลำปาง เชียงใหม่และเชียงราย ลุกฮือต้านการก่อสร้างโรงงานจนต้องล้มเลิกโครงการและหันมาผลักดันกันต่อมาในจังหวัดลำพูนให้มีการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าขยะ ซึ่งชาวบ้านศรีบัวบานก็ลุกฮือทำการต่อต้านการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้ากันอย่างแข็งขันเช่นกัน ส่งผลให้การก่อสร้างอยู่ในระยะที่หนี่งจากทั้งหมด 11 ขั้นตอนของการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าที่ตำบลศรีบัวบาน




