
ตะวันและแบมอดอาหารและน้ำดื่ม อาจสิ้นชีวิตได้ภายในสามวัน
ตะวัน ตัวตุลานนท์และอรวรรณ ภู่พงศ์ ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 เมื่อเธอทำโพลในประเด็น ขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่(8.2.65)ต่อมาตะวันไปถ่ายทอดสดเมื่อตำรวจสลายการชุมนุมของชาวนา ขณะที่มีขบวนเสด็จวิ่งผ่านหน้าสนง.UN (5.3.65) เธอได้รับการประกันตัวด้วยการติดเครื่องพันธนาการหรือกำไลEM มีเงื่อนไขห้ามวิจารณ์ให้กษัตริย์เสื่อมเสีย ห้ามเข้าร่วมการชุมนุมที่อาจวุ่นวาย ห้ามออกนอกประเทศ ต่อมาศาลมีคำสั่งถอนประกันตัวตะวันจึงถูกคุมขังเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565 ทำให้ตะวันอดอาหารเป็นเวลา 30 วัน ศาลอาญาจึงได้ปล่อยตัวชั่วคราว มีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นผู้กำกับดูแลเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2565 จนกระทั่งศาลอาญานัดไต่สวนถอนประกันตะวัน ตัวตุลานนท์วันที่ 1 มีนาคม 2566 สืบเนื่องจาก ตะวันไปเข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านการประชุม APEC วันที่ 17พย.2565 โดยที่ไม่ได้มีการร้องขอจากตำรวจและอัยการ แต่ศาลยืนยันว่า ศาลดำเนินการได้ด้วยตนเองไม่ต้องมีการร้องขอจากตำรวจและอัยการ ตะวันและแบมจึงตัดสินใจขอถอนประกันตนเองเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 โดยมีข้อเรียกร้อง1.ให้ศาลเป็นอิสระ ไม่ให้ผู้บริหารแทรกแซงการพิจารณาคดี 2.ยุติการดำเนินคดีกับราษฎรที่ใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น การชุมนุมและการแสดงออกทางการเมือง ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทุกคน 3.ให้พรรคการเมืองทุกพรรคมีนโยบายประกันสิทธิเสรีภาพราษฎรด้วยการยกเลิกมาตราส 116และมาตรา 112 และประกาศหนักแน่นว่าจะเอาชีวิตเข้าต่อสู้ให้บรรลุข้อเรียกร้องสามข้อ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 19มกราคม66เป็นต้นไปจะอดอาหารและน้ำทันที ซึ่งคาดว่า ทั้งสองคนอาจสิ้นชีวิตจากการขาดอาหารและน้ำดื่มได้ภายใน3-4 วัน หรือ ภายในหนึ่งสัปดาห์
ตะวัน ตัวตุลานนท์ และอรวรรณ ภู่พงษ์ ได้อัดคลิปตนเองปล่อยเสียงสะอึกสะอื้นถึงพ่อแม่ว่า ได้ตัดสินใจด้วยตนเองประกาศชัดเจนเป็นปฏิบัติการเลือดต้องล้างด้วยเลือด ยืนยันสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมในการเรียกร้องสามข้อ วันที่ 19 มกราคม 2566 อานนท์ นำภา ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนโพสต์ข้อความว่า “ตะวันกับแบมมีเจตจำนงเหมือนผู้พิพากษาที่ชื่อคณากร มุ่งหมายใช้ชีวิตตัวเองเพื่อปลุกจิตสำนึกของคนในกระบวนการยุติธรรมให้เห็นถึงความอยุติธรรม”
ทางด้านพรรคการเมืองนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลได้แสดงความเห็นและจุดยืนของพรรคก้าวไกลโดยกล่าวว่า หนึ่ง ยุติการดำเนินคดีการเมือง และสอง นิรโทษกรรมนักโทษคดีการเมือง เพื่อคืนความยุติธรรม ลดความขัดแย้งทางการเมือง และเปิดทางให้ใช้กระบวนการทางประชาธิปไตยแก้ปัญหาการเมืองที่สะสมมานับตั้งแต่การรัฐประหารปี 2549 นอกจากนั้นสามสภาผู้แทนราษฎรสมัยหน้าควรต้องแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายความมั่นคงหลายฉบับ รวมทั้ง ม.112





