

พลานุภาพตะวัน-แบมกับการท้าทายอยุติธรรม
ตุลาการเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยที่ใหญ่โตมากในการบังคับใช้กฎหมายให้มีความเที่ยงธรรม ปกป้องเสรีภาพประชาชน แต่ตุลาการกลับไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชน ศาลจึงเป็นกลไกรัฐรับใช้ผู้มีอำนาจรัฐตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน
ตั้งแต่รัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา ศาลมีบทบาทชัดเจนในการทำลายประชาธิปไตยด้วยการยุบพรรคการเมือง การตัดสินคดีสองมาตรฐาน การปกป้องการรัฐประหารและทำลายสิทธิเสรีภาพราษฎร การไม่ให้สิทธิประกันตัวต่อสู้คดี มีการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของศาลหลายครั้งหลายหน แม้กระทั่งผู้พิพากษายิงตัวตายเพื่อประจานการแทรกแซงของผู้บริหารศาลต่อการทำหน้าที่ของผู้พิพากษาแต่กลับไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการยุติธรรมอย่างเพียงพอ
จนในที่สุดทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ อรวรรณ ภู่พงษ์ หรือแบมกับตะวัน ซึ่งไม่ได้รับสิทธิประกันตัวต้องอดอาหาร-น้ำดื่มเป็นเวลา 53 วัน ( 18 มค.-11 มีนาคม 2566)เรียกร้อง 1.ปล่อยตัวนักโทษการเมือง 2.ปฏิรูปศาล ให้เป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจรัฐ 3. ประกันสิทธิเสรีภาพ-ยกเลิกมาตรา 112 ที่ส่งผลเป็นการสร้างกระแสสังคมขนานใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 1 กพ.66 มีมติให้รัฐบาลดำเนินการในการตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ในขณะเดียวกัน ศาลอาญาได้ให้สิทธิประกันตัวด้วยการปล่อยตัวนักโทษเกือบจะทั้งหมด มีการปลดกำไลEM ผ่อนคลายเงื่อนไขประกันตัว นับ เป็นจุดเริ่มต้นของชัยชนะจากการอดอาหาร-น้ำของตะวัน-และแบม
ทั้งสองคนเป็นเยาวชนในวัยเพียง 20-23 ปี ที่ยอมพลีชีพเพื่อเสรีภาพและความยุติธรรม แม้ว่ายังไม่บรรลุเป้าหมายทั้งสามข้อ แต่อาจกล่าวได้ว่า นี่เป็นครั้งแรกของคนธรรมดา คนตัวเล็ก ตัวน้อย ที่ต่อสู้อย่างอาจหาญกับโครงสร้างความอยุติธรรมขนาดใหญ่โตที่ส่งผลสะเทือนในวงกว้างอีกทั้งยังก่อให้เกิดการต่อสู้อย่างจริงจัง-เข้มข้นของโสภณ สุรฤทธ์ธำรงหรือเก็ท-กลุ่มโมกหลวง และณัฐนิช ดวงมุสิทธิ์ และ นิติพร เสน่ห์สังคม-กลุ่มทะลุวังที่เคลื่อนไหวจุดประกาย3ข้อเรียกร้องของแบมและตะวันในสังคมไทย จึงถือได้ว่าการต่อสู้ในครั้งนี้ประสพผลสำเร็จเป็นอย่างมาก
แบมและตะวัน ประกาศยุติการอดอาหารแล้วเมื่อ 11 กพ.66 อยู่ในระหว่างการรักษาพยาบาลเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาปกติ ส่วนข้อเรียกร้องทั้งสามข้อ เป็นภารกิจของทุกฝ่ายที่จะเดินหน้าต่อไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายทั้งสามข้อ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข 12.3.66
เครดิตภาพ : ไข่แมวชีส , Friends Talk, The Standard



















