กระบวนการยุติธรรม

ศาลเร่งดำเนินคดีแกนนำราษฎร”ดูหมิ่นศาล”


เดินหน้าคดีแกนนำราษฎรดูหมิ่นศาล นัดสืบพยานให้แล้วเสร็จกันยายน 2566

28.3.65 ที่ศาลอาญา ศาลนัดตรวจบัญชีพยานคดี อ.1522/2564 พนักงานอัยการคดีอาญา โดย ธีรารัตน์ บุตรโพธิ์ พนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง  นายณัฐชนน ไพโรจน์, น.ส.เบนจา อะปัญ และนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำราษฎร ซี่งจัดการชุมนุมหน้าศาลอาญาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 เพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้กับแกนนำคณะราษฎรที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำได้แก่เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นําภา, ไมค์-ภาณุพงศ์ จาดนอก, แอมมี่-ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์, จัสติน-ชูเกียรติ แสงวงค์, พอร์ท-ปริญญา ชีวินกุลปฐม และ รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ในการชุมนุมครั้งนี้มีแกนนำนักศึกษาโกนหัว 7 คนด้วยกัน และมีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข มาพูดปราศรัยกล่าวถึงสิทธิการประกันตัวตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย

ฝ่ายอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย 3 คนมี ความผิดฐาน ร่วมกันดูหมิ่นศาล หรือผู้พิพากษาในการพิจารณา (198), ร่วมกันมั่วสุม ตั้งแต่ 10 ขึ้นไปกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และเมื่อเจ้าหน้าที่สั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิด ( 215)  ให้เลิก แต่กระทำไม่เลิก (216) มั่วสุม ร่วมกันชุมนุมหรือจัดกิจกรรมที่แออัดเกินกว่า 20 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตฯ มีนายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม และ วริยา เทพภูเวียง เยาวลักษณ์ อนุพันธ์ เป็นทนายความจำเลยที่ 1-3 โดยฝ่ายจำเลยมีพยานจะสืบ 12 ปาก มีทั้งประจักษ์พยานที่เกิดเหตุ อดีตผู้พิพากษาศาลอาญา นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์  นักวิชาการนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ส่วนฝ่ายโจทก์ มีพยานจะสืบ 17 ปาก ศาลนัดหมายสืบพยานฝ่ายโจทก์ระหว่างวันที่ 24 ,25,29,30สิงหาคม 2566 ส่วนสืบพยานฝ่ายจำเลยระหว่างวันที่ 31 สิงคม 2566 ในวันที่ 14,15 กันยายน 2566 ทั้งนี้ศาลแจ้งต่อคู่ความ ว่าจะพิจารณาคดีติดต่อกันโดยไม่เลื่อนคดี เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วจะทำการสืบพยานจำเลยทันที ให้เตรียมพยานมาให้พร้อมในวันนัดดังกล่าว 

สำหรับเนื้อหา ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198 บัญญัติว่า “ผู้ใดดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรา 215  ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วรรคสอง ถ้าผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ บรรดาผู้ที่กระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วรรคสาม ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิดนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 216 เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา ๒๑๕ ให้เลิกไป ผู้ใดไม่เลิก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

ร่วมกันชุมนุมหรือจัดกิจกรรมที่แออัดเกินกว่า 20 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตฯ ตามพรก.ฉุกเฉินที่ว่า หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ต้องรับโทษตามมาตรา 13 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ